วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การดูแลต้นไม้แต่ละฤดู

              การดูแลต้นไม้ในแต่ละฤดู
                    
                                          

  ดูแลต้นไม้ในแต่ละฤดูจะทำอย่างไรเรามีข้อคิดมาฝาก
 
            หน้าฝน คือ ฤดูที่ทุกคนจินตนาการออกทันทีเลยว่าจะต้องแฉะไปหมด สำหรับต้นไม้หลาย ๆ คนก็อาจคิดว่า หน้าฝนคือเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับต้นไม้ที่จะได้รับน้ำเต็มที่ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญใน การเจริญเติบโต แต่น้ำจะทำให้เกิดปัญหาทันทีที่มันมากเกินไป เพราะถ้าน้ำมากจะทำให้เกิด อาการ เฉาตายได้ น้ำใต้ดินที่มีมากเกินไปก่อให้เกิดปัญหาต้นไม้รากเน่าได้ฉะนั้นเรามารู้จักวิธีดูแลต้นไม้ หน้าฝน กันดีกว่าเพื่อจะได้ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น วิธีง่าย ๆ ของการดูแลต้นไม้หน้าฝนก็คือ

          1. ต้องตัดแต่งกิ่งต้นไม้ยืนต้นให้โปร่งก่อนจะเข้าหน้าฝน ถ้ากิ่งก้านทึบมากเกินไปจะทำให้กิ่งฉีก หักได้ง่าย เพราะน้ำฝนที่เกาะบนใบไม้ในปริมาณมาก จะมีน้ำหนักมากขึ้นทำให้กิ่งฉีกขากเสียหาย นอก จากนี้หน้าฝนจะมีพายุและลมแรงกระโชก ทำให้กิ่งไม้ฉีกขาดหรือหักได้เช่นกัน

          2. ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ปลูกต้นไม้ไม่มีน้ำท่วมขัง ถ้ามีน้ำขังแล้วจะทำให้ต้นไม้เกิดอาการรากเน่า ควรจะปรับเนินดินเพื่อไม่ให้น้ำขังบริเวณโคนต้น ถ้าทำเนินดินแล้วต้นไม้ยัง แสดงอาการ ได้น้ำมาก เกิดไปอยู่อีกควรจะทำระบบระบายน้ำจากบริเวณรอบโคนต้นไม้ ให้น้ำไหลออกไปเร็วที่สุด แต่ควร ระวังปริมาณ ดินที่มาปรับทำเนินจะทำให้เกิดอันตรายต่อต้นไม้ได้ ถ้าหากการถมดินนั้นกลบโคนต้นไม้ มากเกินไป

          3. ควรฉีดยาพ่น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราด้วย เพราะเชื้อราคือสาเหตุที่ทำให้ผลผลิตและคุณภาพ ของพืชพรรณลดลง

          4. หมั่นกำจัดวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมต้นไม้เป็นประจำ เพราะหน้าฝนวัชพืชจะเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วและขึ้นปกคลุมต้นไม้ แย่งอาหารและแสงแดด ทำให้ต้นไม้อ่อนแอ ตลอดจนเป็นแหล่งสะสม เชื้อราและโรคพืช ถ้าหากปล่อยให้วัชพืชโตเกินไปจะทำให้กำจัดยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง

          5. ควรพรวนดินเพื่อให้ดินมีโอกาสแห้งในระดับผิวดินบ้าง และรากต้นไม้ที่อยู่ในระดับหน้าดิน จะได้รับออกซิเจนบ้าง

          6. ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป หรือถ้าใส่ต้องรีบพรวนดินเพื่อให้ดินกลบปุ๋ยก่อนที่น้ำฝนจะชะล้างปุ๋ย ให้ไหลไปที่อื่น ซึ่งถือเป็นการสิ้นเปลือง

          7. สำหรับต้นไม้ที่ปลูกใหม่ควรค้ำยันให้ดี เพราะยังไม่มีรากที่จะยึดเกาะดินพยุงลำต้นอยู่ได้ด้วย ตัวเอง อีกทั้งลมแรงอาจทำให้ต้นไม้ปลูกใหม่โอนเอนไปตามลม ซึ่งจะทำลายระบบรากที่กำลังแตกออก อาจทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตได้
  โดยทั่วไปในช่วงฤดูหนาว จะเป็นช่วงที่อากาศแห้ง หรือมีความชื้นในอากาศต่ำ ไม้ดอกเขตร้อนบางชนิดจะเข้าสู่ระยะพักตัว เช่น ปทุมมา และกระเจียว บางชนิดให้ดอกน้อยลง เช่น กล้วยไม้ ธรรมรักษา และขิงแดง ส่วนไม้ดอกเขตหนาวจะเจริญเติบโตได้ดี เช่น กุหลาบ เบญจมาศ เยอบีร่า แกลดิโอลัส และจะมีสีเข้มกว่าไม้ดอกในฤดูอื่น ๆ
  การให้น้ำ ควรรดน้ำให้ถี่ขึ้น โดยเว้นช่วง ให้ผิวดินแห้งบ้างเล็กน้อย เพื่อให้รากพืชได้อากาศ และควรคลุมแปลง ด้วยวัสดุคลุมแปลง เช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว เพื่อรักษาคามชื้นในดิน ไม้ดอกไม้ประดับส่วนมาก ต้องการความชื้นในอากาศประมาณ 70% เพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ดังนั้นการเพิ่มความชื้นในอากาศจะช่วยให้ไม้ดอกไม้ประดับให้ผลผลิตดีขึ้น ซึ่งทำได้โดยการให้น้ำแบบฝนโปรย (สปริงเกิล) หรือการพ่นหมอก
  การให้ปุ๋ย ไม้ดอกไม้ประดับในช่วงฤดูหนาว จะแตกต่างกับการให้ปุ๋ยในช่วงฤดูฝน ซึ่งในช่วงฤดูฝนจะให้ปุ๋ยบ่อยครั้ง แต่ในช่วงฤดูหนาว ต้องให้ปุ๋ยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากหากให้ปุ๋ยเป็นประจำ โดยเฉพาะปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยมีโอกาสสะสมอยู่ในดินเป็นปริมาณมาก ทำให้เกิดสภาพดินเค็ม ในระยะนี้ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพดิน หากพบว่าดินเริ่มเค็ม ให้ลดปริมาณปุ๋ยเคมีลง หรือให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำแทนการให้ปุ๋ยเม็ด และรดน้ำในปริมาณที่มากกว่าเดิม
  อุณหภูมิที่พุ่งขึ้นสูงทะลุปรอทอยู่ขณะนี้ ทำให้อากาศร้อนระอุทั่วทุกมุมเมือง วิธีหลบร้อน ของเรา นั้นก็มีไม่มากนัก ซึ่งวิธีง่ายๆ ก็ได้แก่ การอาศัยหลบใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่หรือ พักอาศัย ภายในตึกอาคาร นั่นก็พอช่วยให้ทุเลาลงได้บ้าง แต่บรรดาต้นไม้ ที่เป็นร่มเงาให้เรานั้น ต้องยืนต้นรับแสงแดดอย่างเต็มที ตลอดทั้งวัน จนต้นไม้ที่ทนร้อนไม่ไหวต้องล้มตายไปไม่น้อยทีเดียว
  วิธีที่จะช่วยยืดอายุให้กับไม้ต้นงามของคุณในช่วงเวลาที่อากาศร้อนอย่างนี้ ทำได้โดย การเอาใจใส่

         ต้นไม้เหล่านั้นเพิ่มขึ้น ดังขั้นตอนต่อไปนี้

                

          1. การรดน้ำ ควรรดในตอนเช้าหรือเย็น ช่วงที่อากาศไม่ร้อนจนเกินไป ซึ่งเวลาที่เหมาะสม คือ 6.00 - 8.00 น. และ 17.00 ถึง 21.00 น. ไม่ควรรดน้ำในตอนกลางวันที่แดดจัด เพราะเปรียบเสมือน การเอาน้ำร้อนมารดต้นไม้นั่นเอง อาจรดวันละครั้งในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือรดวันละ 2-ครั้ง เช้าและเย็น วิธีรดควรรดรอบโคนต้นไม้ให้ชุ่มและรดพุ่มใบ ด้วยเพื่อให้ใบพืชซึมซับน้ำ เข้าทาง ปากใบ และลดการคายน้ำ หลังรดน้ำสายยางควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย ไม่ควรวางทับสนามหญ้า เพราะนอกจาก จะดูไม่เรียบร้อย น้ำที่ค้างอยู่ในสายยางที่ตากแดดจัดจะร้อนทำให้หญ้าตายได้
    
          2. การใส่ปุ๋ย พยายามอย่าให้เม็ดปุ๋ยติดค้างอยู่ที่ใบและยอด เพราะจะทำให้เกิดอาการใบไหม้ได้ หรือใส่ก่อนรดน้ำ สำหรับการใส่ปุ๋ยทางใบและฉีดยาฆ่าแมลง ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่อากาศร้อนจัด จะทำให้ใบไหม้และไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ เพราะในช่วงที่อากาศร้อน ปากใบพืชจะปิดเพื่อลดการคายน้ำ การใส่ปุ๋ยไม่ควรใส่บ่อยเกินไปถ้าไม่จำเป็น จะเป็นการเร่งการแตกใบใหม่ ซึ่งใบอ่อนจะไม่ทน กับอากาศ และแสงแดดที่ร้อนจัด

          3. การพรวนดินให้ร่วนซุยเป็นประจำ จะทำให้ดินโปร่ง มีช่องว่างในเนื้อดินดูดซับน้ำไว้ได้มาก ทำให้น้ำซึมซับลงในดินในระดับที่ลึกกว่าปกติ ถ้าดินแห้งเกินไปอาจใช้วัสดุปลูกมาคลุมแปลงหรือโคนต้น ช่วยดูดซับน้ำ เช่น กาบมะพร้าวสับหรือหญ้าที่แห้งและปราศจากเชื้อโรคและวัชพืช

          4. ควรมีการตัดแต่งกิ่ง กระโดง กิ่งเป็นโรค และกิ่งที่ไม่มีความจำเป็น เพื่อลดการคายน้ำของพืช

การปลูกต้นไม้ในบ้าน : ไม้ประดับ ไม้เลื้อย และสวนครัว

        1. ไม้ประดับ ตกแต่ง (ornament) จะเป็นไม้เล็ก ล้มลุก ไม้คลุมดิน และไม้ดอกที่เราจะจัดพุ่มหรือจัดกลุ่ม ประกอบกับไม้ใหญ่ หรือไม้หลัก ให้ผสมกลมกลืนกันไป แล้วแต่รูปแบบที่เราต้องการ หรือแล้วแต่สไตล์ของสวน เราสามารถเลือกปลูกได้ตามความแตกต่างของขนาดความสูง รูปทรง สี โดยให้สลับหรือผสมกลมกลืนกันก็ได้ แล้วแต่ความชอบ เช่นผกากรอง กระดุมทอง ฤษีผสม ดาดตะกั่ว ม้าลาย เป็นต้น แต่อยากแนะนำให้หาไม้พันธุ์พื้นเมือง ที่ดูแลง่ายหน่อย เพราะขึ้นง่าย ตายยาก ไม่ต้องประคบประหงม หรือเปลี่ยนกันบ่อยๆ การจัดให้เรียงตามลำดับความสูง คือให้ต้นสูงกว่าอยู่ด้านหลัง และต้นเตี้ยคลุมดินอยู่ด้านหน้า จะจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแนวตรงหรือโค้งได้ตามความเหมาะสม หรือปลูกล้อมไม้ใหญ่เป็นกลุ่ม หรือปลูกต้นไม้ที่มีใบละเอียดสลับกับใบหยาบ สำหรับคนที่ปลูกเองไม่ได้ให้ช่างหรือใครออกแบบ ก็ต้องดูจากหนังสือ ดูรูปเยอะๆ แล้วเลือกสไตล์ที่ชอบ ไปประยุกต์เอาเองได้










         2. ไม้เลื้อย (vine) เป็นไม้ล้มลุก ไม่สามารถปลูกไว้ในดินเฉยๆได้ จึงต้องทำอะไรให้มันเกาะ หรือปลูกตามรั้ว มักมีดอกสวย หรือกลิ่นหอม ถ้าสร้างเรือนหรือระแนงสวยๆ ก็จะช่วยเสริมให้สวนดูสวยงามขึ้นอีกมาก บางชนิดเกาะตามผนังตามกำแพงได้ เราสามารถจัดทำเป็นมุมนั่งเล่น นอกบ้านได้ด้วยซุ้มระแนงรูปแบบต่างๆมากมาย ไม้เลื้อยของไทยมีหลายชนิด เช่น พวงหยก อัญชัน สร้อยอินทนิล ถ้วยทอง เล็บมือนาง สายหยุด พวงชมพู เป็นต้น 












        3. ไม้เลี้ยงสะสม (collecting) ไม้ประเภทนี้ต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยมากจะมีราคาแพง มักไม่จัดรวมกับไม้อื่นๆ แต่จะแยกเป็นนั่งร้าน หรือชั้นวาง เรียงกันไป เพื่อให้เห็นเด่นชัด เป็นต้นต้นไป เช่นไม้แคระ(bonsai) ไม้ดัด บอนสี โป๊ยเซียน ตะบองเพชร ไม้เลี้ยงพวกนี้ถ้าออกแบบจัดตั้งดีๆ หรือจัดกลุ่มแบบไม้ประดับ ก็เป็นสวนสวยได้อย่างหนึ่ง











        4. ไม้สวนครัว (kitchen & herb) ต้นไม้ที่เป็นสวนครัว ตามปกติจะปลูกเป็นแปลงๆ แบ่งแปลงตามประเภทของพืชผักนั้นๆ แต่ในทางธรรมชาติแล้ว พืชผักต่างๆ ก็มีความสวยงามในตัวของมันเอง ดังนั้น ทำไมเราไม่เอามันมาแต่งสวนบ้างล่ะ ลบภาพของแปลงผักออกไป ลองดู form หรือรูปทรง พุ่มใบของมันดูบ้าง บางอย่างจะเอามาปลูกเป็นไม้ประดับได้ หรือแก้ขัดยามขาดตลาดได้ เช่นพวกตะไคร้ ตะไคร้หอม ใบยาวๆเป็นพุ่ม พวกพริกต่างๆสีสันก็สวยงาม โหระพา กะเพราะ สะระแหน่ นี่ปลูกได้ทั้งนั้นเลย ต้นใหญ่หน่อยก็พวกมะกรูด มะนาว ( ตอนเด็กๆจำได้ หลังครัวติดกับรั้วเพื่อนบ้าน เขาปลูกมะกรูดไว้ เราก็ได้อาศัยเอื้อมมือไปเด็ดมาใช้บ่อยๆ) และยังมีประเภทไม้เลื้อยแบบรั้วกินได้อีกหลายอย่างเช่นตำลึง ขจร